วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สัมมนาการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

                 
      มีการจัดสัมมนาของรุ่นพี่ปี4เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ




ดูแลด้วยความรักและห่วงใย

   ลูกหลานจะต้องเปลี่ยนทัศนคติต่อคนสูงอายุไม่คิดว่าท่านเป็นภาระ  หากแต่เป็นบุคคลที่ครวเคารพรัก  ต้องหาความรู้หรือรับรู้การฝึกอบรมความรู้ความชำนาญในการปฐมพยาบาลและเรื่องการปรับตัวเข้าหาผู้สูงอายุเพื่อให้ผู้ที่จะเข้าสู่วัยสูงอายุมีการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านสถานการณ์ผู้สูงอายุ ความเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายจิตใจ การเตรียมพร้อมด้านสุขภาพ การวางแผนเงินออม ตลอดจนการปรับตัวในการดำเนินชีวิตในครอบครัวและสังคม อย่างมีความสุขเพื่อสร้างความตระหนักแก่ภาคส่วนต่างๆในการเตรียมความพร้อมประชากร เพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และ ไม่น่าเชื่อว่าประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ คือ มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นวัยที่มีภาวะพึ่งพิงคนอื่นในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประมาณการณ์ว่า สัดส่วนของผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 15.3 ในปี 2563 ซึ่งหมายความว่า อัตราส่วนของวัยแรงงานต้องรับภาระเลี้ยงดูผู้สูงอายุที่เข้าสู่ภาวะพึ่งพิง” สูงขึ้นอีกนอกจากนี้ยังพบว่าจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละปี โดยในปี พ.ศ. 2552 ประมาณการว่ามีผู้สูงอายุถึง 140,000 คน ที่เจ็บป่วยจากโรคเรื้อรัง และจะเพิ่มเป็นสองเท่าในอีก 15 ปีข้างหน้าใน ขณะที่วัยทำงานซึ่งเป็นวัยที่ช่วยเหลือกลับลดลงตามกาลเวลา ดังนั้นเมื่อเข้าสู่วัยชรา ผู้สูงอายุเหล่านั้นจึงต้องพึ่งพิงบุตรหลาน ตลอดจนความช่วยเหลือจากรัฐ และหากความช่วยเหลือจากรัฐนั้นต้องมาจากภาษีของประชากรวัยทำงาน ในอนาคตอันใกล้นี้ภาระแบกรับเหล่านี้จะกลายเป็นภาระที่หนักมากสำหรับประชากรวัยทำงาน และจะกลายเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยในอนาคต
ทางออกของปัญหา คือ 1) ภาครัฐ ต้องมีการจัดเตรียมระบบการดูแลผู้สูงอายุ หรือรัฐสวัสดิการต่างๆ จึงเป็นมาตรการจำเป็นที่หลายๆ ประเทศต้องเริ่มมีการวางแผนเพื่อเตรียมการในการป้องกันและให้เพียงพอ เพื่อเป็นการวางระบบการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาวให้มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการมีแผนปฏิบัติงานที่ชัดเจนในการส่งเสริมสนับสนุนการมีงานทำที่สอดคล้องกับสมรรถนะของผู้สูงอายุ เพื่อสร้างรายได้แก่ผู้สูงอายุ ให้ผู้สูงอายุสามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้อย่างมีศักดิศรี หรือการขยายโอกาสการทำงานของผู้สูงอายุ การเตรียมความพร้อมด้านบริการสาธารณะสุข เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับบริการอย่างทั่วถึง รวมถึง สวัสดิการต่างๆ เพื่อรองรับผู้สูงอายุ อย่างสถานสงเคราะห์ ซึ่งปัจจุบันยังพบว่าสถานสงเคราะห์คนชราส่วนใหญ่ขาดแคลนบุคลากรเฉพาะด้าน เช่น พยาบาล นักกายภาพบำบัด จึงไม่มีศักยภาพเพียงพอในการรองรับบริการดังกล่าว
นอกจากนี้ 2) คนในสังคมต้องมีการเตรียมความพร้อมของตนเองก่อนที่จะเข้าสู่ภาวะสูงวัย ทั้งการเตรียมความพร้อมด้านเศรษฐกิจการเงิน ที่อยู่อาศัย รวมถึงสุขภาพ หากแต่ที่สำคัญคือจากการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2550 กลับพบว่าผู้สูงอายุกว่าร้อยละ 43 หรือเกือบครึ่ง ที่ไม่ได้เตรียมการเพื่อยามสูงอายุ ทั้งด้านสุขภาพกาย ด้านการศึกษาธรรมะหรือเข้าหาศาสนา การเตรียมตัวด้านที่อยู่อาศัย หลักประกันด้านการเงิน ส่งผลให้ผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยต้องตกอยู่ในภาวะยากจน และลำบากเมื่อเข้าสู่ภาวะสูงวัย
แต่เมื่อย้อนมองถึงภาวะประชากรในปัจจุบัน ที่กำลังจะเป็นผู้สูงอายุในอนาคต (อายุ 15-39 ปีและ 40-59 ปีในปัจจุบัน) เป็นที่น่าดีใจที่พบว่า ผู้จะเป็นผู้สูงอายุในอนาคตมีการเตรียมตัวมากกว่าผู้สูงอายุรุ่นปัจจุบัน ทั้งการเตรียมการด้านเศรษฐกิจหรือการเงินและสุขภาพ แต่การเตรียมตัวเข้าหาศาสนาหรือศึกษาธรรมะยังคงมีอยู่น้อย เนื่องมาจากกระแสโลกาภิวัตน์ที่เน้นความสำเร็จในเชิงวัตถุ ทำให้ประชากรคำนึงถึงเรื่องเงินทองมากกว่าเรื่องจิตใจหรือธรรมะ
ทั้งนี้ ประเด็นที่ยังคงน่าเป็นห่วงคือ ประชากรไทยมีการเตรียมการเพื่อยามสูงวัยค่อนข้างช้า หรือเตรียมตัวเมื่ออายุค่อนข้างมาก ผลการสำรวจประชากรอายุระหว่าง 18-59 ปี พบว่าส่วนใหญ่เห็นว่าควรเตรียมการเพื่อยามสูงวัยเมื่อมีอายุ 40 ปีขึ้นไป ในขณะที่ผลการสำรวจประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่ตอบว่าได้เตรียมการเพื่อยามสูงวัยเมื่ออายุประมาณ 50 ปี
จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า แม้การเตรียมความพร้อมเพื่อยามสูงวัยของประชากรไทยในระดับบุคคลมากขึ้น แต่ก็ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ เพราะมีการเตรียมตัวเพียงบางมิติและยังมีความล่าช้า ทั้งที่ในหลายเรื่องควรจะเตรียมตั้งแต่วัยเด็กหรือวัยเริ่มทำงาน เช่น การออมควรเริ่มตั้งแต่วัยเด็กเพื่อให้มีวินัยและติดเป็นนิสัย แต่ที่ผ่านมาพบว่าประชากรไทยยังไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ในด้านสุขภาพเช่นกัน ความใส่ใจสุขภาพควรเริ่มตั้งแต่เด็ก ไม่ใช่เมื่อสูงอายุ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายได้เสื่อมถอยลงจนอาจสายเกินไปที่จะฟื้นฟู หรือเมื่อเกิดปัญหาสุขภาพเท่านั้น การเตรียมตัวนั้นควรเตรียมตัวในทุกมิติ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตนเองได้มากและนานที่สุดทั้งในด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ การอยู่อาศัย และการเงิน
คำว่าผู้สูงอายุ จึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับคนไทยอีกต่อไป ซึ่งทุกคนควรต้องทำความเข้าใจและเตรียมความพร้อมในการรับมือก่อนที่สังคมไทยและสังคมโลกจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยในอนาคต
     

                    

ไปศึกษาดูงานที่จังหวัด สุรินทร์ และ บุรีรัมย์ ตั้งแต่วันที่ 10 - 13 ก.พ 2554


                                                  ประสาทพนมรุ้ง
         ปราสาทหินพนมรุ้ง สร้างขึ้นจากหินทรายสีชมพู ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้งสูง 1,320 ฟุตจากระดับน้ำทะเล ชื่อพนมรุ้งแปลว่าภูเขาใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 15 – 18 จารึกต่างๆที่นักวิชาการได้อ่านและแปลพอจะสรุปได้ว่า พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 3 กษัตริย์แห่งเมืองพระนคร (พ.ศ.1487 – 1511)ได้สถาปนาเทวาลัยถวายพระอิศวรที่ขาพนมรุ้ง ซึ่งในสมัยแรกๆคงยังไม่ใหญ่โตนัก ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 (พ.ศ.1511 – 1544)ได้ทรงอุทิศที่ดินและข้าทาสถวายแด่เทวสถานพนมรุ้ง ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 17 นเรนทราทิตย์ เจ้านายแห่งราชวงศ์มหิทรปุระที่ปกครองดินแดนแถบนี้ (ซึ่งเป็นต้นตระกูลของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างนครวัด) ได้สร้างปราสาทแห่งนี้ขึ้นและได้ทรงบำเพ็ญพรตเป็นโยคี ณ ปราสาทพนมรุ้ง
         พนมรุ้ง เป็นชื่อดั้งเดิม ซึ่งปรากฏหลักฐานตามศิลาจารึกที่ค้นพบปราสาทแห่งนี้ ปราสาทพนมรุ้งสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย ซึ่งนับถือ พระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุด ดังนั้น เขาพนมรุ้งจึงเปรียบเสมือนเขาไกรลาสที่ประทับของพระศิวะ
         องค์ประกอบและแผนผังของปราสาทพนมรุ้งได้รับการออกแบบให้มีลักษณะเป็นแนวเส้นตรง และเน้นความสำคัญเข้าหาจุดศูนย์กลาง นั่นคือปราสาทประธานซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านขวาของบันไดทางขึ้นสู่ศาสนสถานมีอาคารที่เรียกว่า พลับพลา อาคารนี้อาจจะเป็นอาคารที่เรียกกันในปัจจุบันว่า พลับพลาเปลื้องเครื่อง ซึ่งเป็นที่พักจัดเตรียมองค์ของพระมหากษัตริย์ ก่อนเสด็จเข้าสู่การสักการะเทพเจ้า หรือประกอบพิธีกรรมในบริเวณศาสนสถาน ถัดจากนั้นเป็นทางเดินทั้งสองข้างประดับด้วยเสามียอคล้ายดอกบัวตูมเรียกว่าเสานางเรียง จำนวนข้างละ 34 ต้น ทอดตัวไปยังสะพานนาคราช ซึ่งผังกากบาทยกพื้นสูง ราวสะพานทำเป็นลำตัวพญานาค 5 เศียร สะพานนาคราชนี้ ตามความเชื่อเป็นทางที่เชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับเทพเจ้า สิ่งที่น่าสนใจคือ จุดกึ่งกลางสะพาน มีภาพจำหลักรูปดอกบัวแปดกลีบ อาจหมายถึงเทพประจำทิศทั้งแปด ในศาสนาฮินดู หรือเป็นจุดที่ผุ้มาทำการบูชา ตั้งจิตอธิษฐาน จากสะพานนาคราชชั้นที่ 1 มีบันไดจำนวน 52 ขั้นขึ้นไปยังลานบนยอดเขา ที่หน้าซุ้มประตูระเบียงคดทิศตะวันออก มีสะพานนาคราชชั้นที่ 2 ระเบียงคดก่อเป็นห้องยาวต่อเนื่องกัน เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ารอบลานปราสาทแต่ไม่สามารถเดินทะลุถึงกันได้ เพราะมีผนังกั้นอยู่เป็นช่วงๆ มีซุ้มประตูกึ่งกลางของแต่ละด้าน ที่มุมระเบียงคดทำเป็นซุ้มกากบาท ที่หน้าบันของระเบียงคดทิศตะวันออกด้านนอก มีภาพจำหลักรูปฤาษีซึงหมายถึงพระศิวะในปางที่เป็นผู้รักษาโรคภัยไข้เจ็บ และอาจรวมหมายถึง นเรนทราทิตย์ ผู้ก่อสร้างปราสาทประธานแห่งนี้ด้วย









       จะเห็นได้ว่าปราสาทพนมรุ้งไม่เพียงแต่จะมีความโดดเด่นในด้านการวางผังที่สัมพันธ์กับภูมิประเทศแล้ว การตกแต่งด้วยภาพจำหลักหินที่ทับหลังและหน้าบันยังเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างของปราสาทหินสีชมพูแห่งนี้ นอกจากงดงามด้วยฝีมือช่างแล้ว ยังเผยให้เราได้รู้ถึงเรื่องราวเกี่ยวกับปราสาทแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นภาพที่บอกถึงการเป็นเทวสถานของพระศิวะ ภาพพิธีกรรมต่างๆและภาพเรื่องราวจากมหากาพย์ของอินเดียคือรามายณะและมหาภารตะ เป็นต้น 
    ปราสาทพนมรุ้งได้รับการบูรณะด้วยกรรมวิธีอนัสติโลซิส ซึ่งเป็นการบูรณะโบราณสถานโดยทำสัญลักษณ์ของชิ้นส่วนต่างๆก่อนจะรื้ออกเพื่อเสริมรากฐาน และนำชิ้นส่วนต่างๆมาประกอบขึ้นใหม่ตามเดิมซึ่งวิธีการเช่นนี้ใช้กับปราสาทหินหลายแห่ง เช่นปราสาทหินพิมาย ปราสาทพนมวัน เป็นต้น 
    ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 (เมษายน) ของทุกปีมีงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งซึ่งเป็นงานใหญ่ประจำปี โดยในวันนี้พระอาทิตย์แรกแห่งอรุณจะสาดส่องทะลุผ่านประตูทั้ง 15 ช่องชาวบ้านจะเดินเท้าขึ้นมาเพื่อชมความอลังการที่ผสานระหว่างธรรมชาติและสิ่งก่อสร้างของบรรพชน
สถานที่ตั้ง
   ปราสาทพนมรุ้ง ตั้งอยู่ที่บ้านตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ เวลาทำการ 06.00 น. – 18.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท 





                                            ดูโชว์น้องช้าง ที่สุรินทร์




        เมืองสุรินทร์ ได้ชื่อว่าเป็นถิ่นเมืองช้าง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีคนเลี้ยงช้างอยู่ทุกแห่ง ในสุรินทร์จะมีชาวกูยเพียงไม่กี่หมู่บ้านเท่านั้นที่เป็น กูยอะเจียงหรือคนที่อยู่กับช้าง หมู่บ้านตากลาง หมู่บ้านตากลาง ตำบลกะโพ อำเภอท่าตูม นับเป็นหมู่บ้านชาวกูยเก่าแก่ที่เลี้ยงช้างกันมาหลายร้อยปี ตั้งแต่เมื่อครั้งที่บรรพบุรษของเขาเลือกพื้นที่ที่ลำน้ำซีมาสบกับลำน้ำมูลซึ่งเป็นป่าดงดิบริมน้ำกว้างใหญ่ มีอาหารเพียงพอศึกที่ปลดระวางจากสงคราม เพื่อนำมาส่งเป็นส่วย แทนการเกณฑ์ทหารมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แทบทุกปีในสมัยก่อน ปะชิหมอช้างใหญ่ คุมคนและช้างเป็นขบวนใหญ่ เพื่อไปคล้องช้างป่าในแผ่นดินเขมร แต่เมื่อเกิดปัญหาทางการเมืองระหว่างประเทศ การคล้องช้างก็เลิกไป แต่ก็ยังมีการเลี้ยงช้างสืบต่อกันมา เพราะมีลูกช้างสืบต่อกันมา เพราะมีลูกช้างเกิดใหม่ทุกปี การเลี้ยงช้างของชาวกูย ไม่ได้เลี้ยงไว้เพื่อการทำงานหนักหรือใช้ลากไม้แบบทางเหนือ พวกเขาเลี้ยงช้างเหมือนเพื่อน ลูกชายชาวกูยบางคนก็เติบโตมาพร้อมกับช้างจึงเป็นเรื่องราวที่แยกจากกันไม่ออก แม้จะไม่มีการออกไปจับช้างอีกแล้ว แต่ช้างบ้านหลายรุ่น ก็ตกลูกช้างมาอย่างสม่ำเสมอ เมื่อช้างโตอายุสักปีสองปีก็ต้องมีการฝึก เพื่อรับคำสั่งต่าง ๆ ทั้งการส่งควาญขึ้นหลัง เดินซ้าย ขวา หน้า หลัง สมัยก่อนการฝึกช้างก็ทำกันเองทั่วไป แต่ปัจจุบันมีสนามฝึกช้างใกล้กับอาคารศูนย์คชศึกษาซึ่งจะทำการฝึกช้างวัยรุ่น ช้างนั้นมีความจำดีสามารถทำอะไรได้หลายๆ อย่างแล้วแต่ควาญจะฝึกให้ทำอะไรแต่ก็ต้องฝึกอยู่เสมอๆ 




                                               สมุนไพรรักษาโรค


       





ชื่อ : ร.อ.เสวย  จานิกร
วุฒิการศึกษา : มัธยมศึกษา ปีที่ ประสบการณ์/การเป็นวิทยากร : 1.ดูงานด้านเกษตรกรรมในสถานที่ไร่,สวนของเกษตรกรหลายพื้นที่ การเลี้ยงสัตว์,การปลูกพืช2.ปัจจุบันเป็นครูภูมิปัญญาชาวบ้านด้านสมุนไพร ให้แก่คณะศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศ
ความชำนาญเฉพาะด้าน : 1.สมุนไพรใช้รักษา และป้องก้นโรคต่างๆ
2เกษตรแบบผสมผสาน










    พ่อเสวย จานิกร เกษตรกรที่อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ บริเวณบ้านพ่อเสวยเป็นสวนสมุนไพร มีพืชสมุนไพรกว่าร้อยชนิด การสร้างสวนสมุนไพรเกิดจากการเรียนรู้ความสมดุลของระบบนิเวศน์แบบป่า ต้นไม้ใหญ่น้อยเกื้อกูลกัน สวนสมุนไพรพ่อเสวยเป็นแหล่งศึกษาดูงาน เรียนรู้เรื่องสมุนไพรของทั้งคนและสัตว์ ทำให้มีผู้คนเข้าออกบ้านตลอดเวลา เลี้ยงไก่ไว้คุ้ยเขี่ยจิกกินแมลงผ่ามะพร้าวไว้ให้ไก่ได้จิกกินตามใจชอบ แต่ในภาวะที่ไข้หวัดนกระบาดไก่ที่บ้านยังสมบูรณ์แข็งแรง 








                              การเลี้ยงหมูหลุม









แนวคิดที่เลี้ยงสุกรแบบเกษตรธรรมชาติ (หมูหลุม)
1. ต้องการศึกษา เรียนรู้ วิธีการ เลี้ยงสุกรแบบธรรมชาติ และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเรียนรู้การแก้ไขปัญหาที่เผชิญได้ด้วยตัวเอง
2. เป็นแนวทางการส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชน ตามภารกิจงานการศึกษานอกโรงเรียน
3. เป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัว มีส่วนร่วมในกระบวนการคิด บริการจัดการสร้างความสัมพันธ์กับครอบครัวอยากให้ชาวบ้าน และแนวทางการเลี้ยงในการแก้ปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็น













วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

เข้ามาดูมีงานให้

     

ประกาศรับสมัครงานวิศวะ
ตำแหน่ง  ช่างคอมพิวเตอร์ ช่างอิเล็กโทนิกส์ ช่างเชื่อม
 ช่างยนตร์  ช่างไฟฟ้า
           คุณสมบัติ  มีความรู้เกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีความเรียบร้อย
          เพศ  ชาย หญิง  อายุ 23-30 ปี
          การศึกษา  จบปริญญาตรี
          รายได้ 10.000 บาท

เทคโนโลยีในชุมชน


Technology (เทคโนโลยี)

       เทคโนโลยีพื้นฐานสิ่งหนึ่งที่อยู่คู่ครอบครัว คนไทย และ คนเอเชีย เกี่ยวกับการอยู่การกิน หรือเรื่องใกล้ตัว คงต้องนึกถึงสิ่งหนึ่งภายในครัวที่ทุกบ้านต้องมีติดไ ว้นั่นคือ หม้อหุงข้าว ทราบหรือไม่ว่า หม้อหุงข้าว ถูกประดิษฐ์ ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยประเทศญี่ปุ่น จุดประสงค์ของการผลิตก็เพียงเพื่อตอบสนองความต้องการ ของแต่ละครอบครัวภายใน ประเทศ เมื่อก่อนนั้นสตรีชาวญี่ปุ่นจำเป็นต้องหุงข้าวด้วยเต าถ่าน
     ซึ่งการหุงข้าวด้วยเตาถ่นนั้น เสียเวลามาก ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่มานั่งเฝ้า อีกทั้งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สตรีญี่ปุ่นต้องใช้แรงงาน เป็นการสนับสนุนในการสงคราม ความสะดวกรวดเร็ว และ การประหยัดเวลาขั้นตอนในการหุงข้าว จึงจำเป็นอย่างยิ่งในยุคนั้นจึงเป็นที่มาของการประดิษฐ์หม้อหุงข้าว และ หม้อหุงข้าวเริ่ม มีการจำหน่ายขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ.1956 ซึ่งถือว่าเป็นอุปกรณ์พื้นฐาน ของครัวเรือนที่ได้รับการตอบรับจากประชาชนชาวญี่ปุ่น อย่างล้นหลามวิวัฒนาการของหม้อหุงข้าว ก็มีการพัฒนาเติบโตไปตามยุคสมัย จากวิธีดั้งเดิมที่สุด หม้อหุงข้าว มีชื่อเรียกว่า คามาโดะ ปรากฏในยุคสมัยโคฟุน (ประมาณ ค.ศ. 300-710) คามาโดะ เป็นเตา ธรรมดาๆ ที่สร้างจาก ดิน และ เสริมด้วยเศษอิฐ ที่แตกหรือหัก แล้ว มาหลอมเพื่อเพิ่มความแข็งแรง และ ทนทานต่อความร้อน โดยใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงใด้การหุงต้มทั้งข้าว แกง หรือ ซุป ต่างๆ มีข้อเสียที่เป็นปัญหาใหญ่เลย คือ คามาโดะ      





      ในภายหลังการประดิษฐ์ภาชนะบรรจุข้าวสำหรับหุง ถูกสร้างขึ้นมาแก้ปัญหาข้อนี้โดยเฉพาะ โดยเน้นไปที่รูปแบบลักษณะเป็นทรงรี ถูกตีขึ้นด้วยโลหะ เรียกว่า โอกามะ ชาวญี่ปุ่นเรียก หม้อหุงข้าว ชนิดนี้ว่า มูชิ คามาโดะ
     กลางทศวรรษ 1920 ญี่ปุ่นเริ่มมีการทดลองพัฒนาผลิตภัณฑ์หม้อหุงข้าว ที่ใช้ไฟฟ้าขึ้นเป็นครั้งแรก สำเร็จในปี 1940 โดยบริษัท ที่เราคุ้นหูกันดีอย่าง มิตซูบิชิ อิเลคทริก เป็น หม้อหุงข้าวที่มีหม้อ และ ใช้ขดลวดนำความร้อนขดอยู่อยู่ภายใน ซึ่งเป็นรูปแบบมาตรฐานที่ดูใกล้เคียงกับหม้อหุงข้าวใ นปัจจุบันที่สุด และในภายหลัง บริษัทมัตซูชิตะ และ โซนี่ ก็ได้ผลิตหม้อหุงข้าวออกจำหน่าย เช่นเดียวกับ มิตซูบิชิ อิเลคทรอนิค แต่ความนิยมและเรื่องของการใช้งานนั้นก็ยังไม่ประสบค วามสำเร็จเท่าที่ควร
กระทั่งวันที่ 10 ธันวาคม ปี 1956 บริษัท โตชิบา ก็ได้นำหม้อหุงข้าวที่ทำงานอัตโนมัติ โดยไม่ต้องคำนวณเวลานั่งเฝ้า และทำการวางจำหน่ายทั้งหมด 700 เครื่อง ผลคือโตชิบาประสบความสำเร็จในการตลาดครั้งนี้ พอเริ่มรู้ทิศทางและความต้องการดีแล้ว โตชิบาก็เริ่มผลิตหม้อหุงข้าวไฟฟ้าอัตโนมัติ เพิ่มอีก 200,000 เครื่อง ในระยะเวลาเพียง 1 เดือนซึ่งใน 4 ปี ต่อมาหม้อหุงข้าวไฟฟ้าก็เป็นที่แพร่หลายไปเกือบครึ่ง ประเทศหากวิเคราะห์ดูแล้ว สาเหตุหนึ่งที่บริษัทโตชิบา ประสบความสำเร็จในครั้งนี้ ก็คงเนื่องมาจากเวลาและสายการผลิตที่รวดเร็ว และ ความแม่นยำ ในการวิเคราะห์ความต้องการตลาดและตอบโจทย์ผู้บริโภคไ ด้




คุณสมบัติของหม้อหุงข้าไฟฟ้า คือในขั้นตอนการหุงข้าว ในตอนนั้นจะใช้เวลาเพียง 20 นาที ซึ่งหม้อหุงข้าวไฟฟ้าในยุคนั้นจะมี 2 ชั้น ชั้นนอกสำหรับบรรจุน้ำส่วนชั้นในสำหรับบรรจุข้าว รูปแบบเทคโนโลยีหม้อหุงข้าวนี้ถูกใช้อยู่นานถึง 9 ปี ทั่วเอเชีย ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นหม้อหุงข้าวในยุคปัจจุบันหม้อหุงข้าวไฟฟ้า ถือว่าเป็นเครื่องใช้ที่สำคัญและจำเป็นมากในชีวิตประ จำวัน เนื่องจากหม้อหุงข้าวไฟฟ้ามีระบบการทำงานอย่างอัตโนม ัติ จึงอำนวยสะดวกและประหยัดเวลาในการหุงต้ม ถึงแม้ว่าปัจจุบันนี้ จะมีบริษัทหม้อหุงข้าวเป็นจำนวนมาก ให้ผู้บริโภคได้เลือกใช้ แต่หลักการทำงาน หม้อหุงข้าวไฟฟ้า ของทุกบริษัท ก็ยังคงมีหลักการทำงาน ที่คล้ายกัน เช่นเดิม คือ แผ่นแผ่กระจายความร้อนหรือแผ่นความร้อน เทอร์โมสตัท ที่ใช้ควบคุมอุณหภูมิ สวิตซ์ หลอดไฟบอกสภาวะการทำงาน หม้อหุงข้าวชั้นใน และ หม้อหุงข้าวชั้นนอก และ รุ่นใหม่มีฟังก์ชันการตั้งเวลาและอุณหภูมิ เสริมเช่นกัน
จะยุคไหน สมัยไหน คนไทย ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องปากเรื่องท้อง เทคโนโลยี ที่เปลี่ยนไปตอบโจทย์ความต้องการ และ ชี้ถึงแนวโน้มการทำงานที่สะดวกสบายขึ้น ไม่เว้นแม้กระทั่ง หม้อหุงข้าว ที่ดูดีๆแล้ว มันก็คือเทคโนโลยีพื้นฐาน แม้รูปลักษณ์และเสริมจะเปลี่ยนไปแต่ยังไงก็ได้ ผลลัพท์ออกมาเช่นกัน
เหมือนเครื่อง โทรศัพท์ ในยุคปัจจุบันเลย...จริงๆ


























  

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เทคโนโลยีในชุมชน

Technology (เทคโนโลยี)

 
ว่าเทคโนโลยี ต้องเป็นของที่ทันสมัยอย่างเช่น
การที่ประเทศเราเปลี่ยนจากการใช้ ควายไถนา มาเป็น รถไถนา  แม้แต่มนุษย์ในยุคแรกๆ ที่รู้จักใช้ไม้ในการล่าสัตว์ หรือ
ชาวบ้านที่นั่งปั่นด้าย ก็ถือว่าเป็น เทคโนโลยี  เพราะ สิ่งต่างๆ เหล่านี้
ล้วนแต่ต้อง "ใช้ความรู้ ทักษะ และทรัพยากร มาสร้างสิ่งของเครื่องใช้
หรือวิธีการ โดยผ่านกระบวนการ เพื่อแก้ปัญหา สนองความต้องการ
หรือเพิ่มความสามารถในการทำงานของมนุษย์" 


 เพียงแต่ว่า แต่ละอย่างที่นำเสนอ อะไรเกิดมาก่อน แล้วก็วิวัฒนาการ
มาจนเป็นปัจจุบัน โดยได้ผ่านการ ปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น หลังจาก
ใช้งานไประยะหนึ่ง อาจจากการที่เราค้นพบความรู้เพิ่มขึ้น
ทำให้เราสามารถ ปรับปรุงสิ่งที่ใช้งานอยู่ให้ดีขึ้น ซึ่งเราเรียกว่า วิวัฒนาการ
จากที่ใช้ควายไถนา แล้วเปลี่ยนมาเป็น ใช้รถไถนาแทน มีอะไรที่ต่างกัน
อาจพูดได้ว่ามีจุดประสงค์เดียวกันคือการไถนา สำหรับการใช้รถไถนาอาจรวดเร็ว
กว่าใช้ความไถนา แต่ในสถานการณ์น้ำมันแพง อาจไม่คุ้มค่าก็ได้ ดินในนาที่ใช้
รถไถอาจจะถูกอัดแน่นทำให้ปลูกข้าวต่อไป ได้ลำบาก  ของที่มีประโยชน์
บางครั้งมันก็มีโทษ เช่นอาจทำให้เกิดปัญหาทำให้น้ำมันขาดแคลน มีมลภาวะ
คนตกงาน ดังนั้นการใช้เทคโนโลยี     จำเป็นต้อง ประเมินดูว่า สิ่งนั้นคุ้มหรือไม่
ที่ทำ ขายได้หรือไม่ เป็นอันตรายหรือไม่
ขณะเดียวกัน การใช้ควายไถนา เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ความรู้น้อย
ส่วนรถไถนานั้นใช้ความรู้มากกว่า หรืออาจบอกได้ว่า สองสิ่งนี้มีเทคโนโลยี
คนละระดับ หรืออาจกล่าวได้ว่า เราแบ่งระดับเทคโนโลยี จากความรู้ที่ใช้
ในเทคโนโลยีนั้นๆ