วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

เข้ามาดูมีงานให้

     

ประกาศรับสมัครงานวิศวะ
ตำแหน่ง  ช่างคอมพิวเตอร์ ช่างอิเล็กโทนิกส์ ช่างเชื่อม
 ช่างยนตร์  ช่างไฟฟ้า
           คุณสมบัติ  มีความรู้เกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีความเรียบร้อย
          เพศ  ชาย หญิง  อายุ 23-30 ปี
          การศึกษา  จบปริญญาตรี
          รายได้ 10.000 บาท

เทคโนโลยีในชุมชน


Technology (เทคโนโลยี)

       เทคโนโลยีพื้นฐานสิ่งหนึ่งที่อยู่คู่ครอบครัว คนไทย และ คนเอเชีย เกี่ยวกับการอยู่การกิน หรือเรื่องใกล้ตัว คงต้องนึกถึงสิ่งหนึ่งภายในครัวที่ทุกบ้านต้องมีติดไ ว้นั่นคือ หม้อหุงข้าว ทราบหรือไม่ว่า หม้อหุงข้าว ถูกประดิษฐ์ ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยประเทศญี่ปุ่น จุดประสงค์ของการผลิตก็เพียงเพื่อตอบสนองความต้องการ ของแต่ละครอบครัวภายใน ประเทศ เมื่อก่อนนั้นสตรีชาวญี่ปุ่นจำเป็นต้องหุงข้าวด้วยเต าถ่าน
     ซึ่งการหุงข้าวด้วยเตาถ่นนั้น เสียเวลามาก ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่มานั่งเฝ้า อีกทั้งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สตรีญี่ปุ่นต้องใช้แรงงาน เป็นการสนับสนุนในการสงคราม ความสะดวกรวดเร็ว และ การประหยัดเวลาขั้นตอนในการหุงข้าว จึงจำเป็นอย่างยิ่งในยุคนั้นจึงเป็นที่มาของการประดิษฐ์หม้อหุงข้าว และ หม้อหุงข้าวเริ่ม มีการจำหน่ายขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ.1956 ซึ่งถือว่าเป็นอุปกรณ์พื้นฐาน ของครัวเรือนที่ได้รับการตอบรับจากประชาชนชาวญี่ปุ่น อย่างล้นหลามวิวัฒนาการของหม้อหุงข้าว ก็มีการพัฒนาเติบโตไปตามยุคสมัย จากวิธีดั้งเดิมที่สุด หม้อหุงข้าว มีชื่อเรียกว่า คามาโดะ ปรากฏในยุคสมัยโคฟุน (ประมาณ ค.ศ. 300-710) คามาโดะ เป็นเตา ธรรมดาๆ ที่สร้างจาก ดิน และ เสริมด้วยเศษอิฐ ที่แตกหรือหัก แล้ว มาหลอมเพื่อเพิ่มความแข็งแรง และ ทนทานต่อความร้อน โดยใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงใด้การหุงต้มทั้งข้าว แกง หรือ ซุป ต่างๆ มีข้อเสียที่เป็นปัญหาใหญ่เลย คือ คามาโดะ      





      ในภายหลังการประดิษฐ์ภาชนะบรรจุข้าวสำหรับหุง ถูกสร้างขึ้นมาแก้ปัญหาข้อนี้โดยเฉพาะ โดยเน้นไปที่รูปแบบลักษณะเป็นทรงรี ถูกตีขึ้นด้วยโลหะ เรียกว่า โอกามะ ชาวญี่ปุ่นเรียก หม้อหุงข้าว ชนิดนี้ว่า มูชิ คามาโดะ
     กลางทศวรรษ 1920 ญี่ปุ่นเริ่มมีการทดลองพัฒนาผลิตภัณฑ์หม้อหุงข้าว ที่ใช้ไฟฟ้าขึ้นเป็นครั้งแรก สำเร็จในปี 1940 โดยบริษัท ที่เราคุ้นหูกันดีอย่าง มิตซูบิชิ อิเลคทริก เป็น หม้อหุงข้าวที่มีหม้อ และ ใช้ขดลวดนำความร้อนขดอยู่อยู่ภายใน ซึ่งเป็นรูปแบบมาตรฐานที่ดูใกล้เคียงกับหม้อหุงข้าวใ นปัจจุบันที่สุด และในภายหลัง บริษัทมัตซูชิตะ และ โซนี่ ก็ได้ผลิตหม้อหุงข้าวออกจำหน่าย เช่นเดียวกับ มิตซูบิชิ อิเลคทรอนิค แต่ความนิยมและเรื่องของการใช้งานนั้นก็ยังไม่ประสบค วามสำเร็จเท่าที่ควร
กระทั่งวันที่ 10 ธันวาคม ปี 1956 บริษัท โตชิบา ก็ได้นำหม้อหุงข้าวที่ทำงานอัตโนมัติ โดยไม่ต้องคำนวณเวลานั่งเฝ้า และทำการวางจำหน่ายทั้งหมด 700 เครื่อง ผลคือโตชิบาประสบความสำเร็จในการตลาดครั้งนี้ พอเริ่มรู้ทิศทางและความต้องการดีแล้ว โตชิบาก็เริ่มผลิตหม้อหุงข้าวไฟฟ้าอัตโนมัติ เพิ่มอีก 200,000 เครื่อง ในระยะเวลาเพียง 1 เดือนซึ่งใน 4 ปี ต่อมาหม้อหุงข้าวไฟฟ้าก็เป็นที่แพร่หลายไปเกือบครึ่ง ประเทศหากวิเคราะห์ดูแล้ว สาเหตุหนึ่งที่บริษัทโตชิบา ประสบความสำเร็จในครั้งนี้ ก็คงเนื่องมาจากเวลาและสายการผลิตที่รวดเร็ว และ ความแม่นยำ ในการวิเคราะห์ความต้องการตลาดและตอบโจทย์ผู้บริโภคไ ด้




คุณสมบัติของหม้อหุงข้าไฟฟ้า คือในขั้นตอนการหุงข้าว ในตอนนั้นจะใช้เวลาเพียง 20 นาที ซึ่งหม้อหุงข้าวไฟฟ้าในยุคนั้นจะมี 2 ชั้น ชั้นนอกสำหรับบรรจุน้ำส่วนชั้นในสำหรับบรรจุข้าว รูปแบบเทคโนโลยีหม้อหุงข้าวนี้ถูกใช้อยู่นานถึง 9 ปี ทั่วเอเชีย ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นหม้อหุงข้าวในยุคปัจจุบันหม้อหุงข้าวไฟฟ้า ถือว่าเป็นเครื่องใช้ที่สำคัญและจำเป็นมากในชีวิตประ จำวัน เนื่องจากหม้อหุงข้าวไฟฟ้ามีระบบการทำงานอย่างอัตโนม ัติ จึงอำนวยสะดวกและประหยัดเวลาในการหุงต้ม ถึงแม้ว่าปัจจุบันนี้ จะมีบริษัทหม้อหุงข้าวเป็นจำนวนมาก ให้ผู้บริโภคได้เลือกใช้ แต่หลักการทำงาน หม้อหุงข้าวไฟฟ้า ของทุกบริษัท ก็ยังคงมีหลักการทำงาน ที่คล้ายกัน เช่นเดิม คือ แผ่นแผ่กระจายความร้อนหรือแผ่นความร้อน เทอร์โมสตัท ที่ใช้ควบคุมอุณหภูมิ สวิตซ์ หลอดไฟบอกสภาวะการทำงาน หม้อหุงข้าวชั้นใน และ หม้อหุงข้าวชั้นนอก และ รุ่นใหม่มีฟังก์ชันการตั้งเวลาและอุณหภูมิ เสริมเช่นกัน
จะยุคไหน สมัยไหน คนไทย ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องปากเรื่องท้อง เทคโนโลยี ที่เปลี่ยนไปตอบโจทย์ความต้องการ และ ชี้ถึงแนวโน้มการทำงานที่สะดวกสบายขึ้น ไม่เว้นแม้กระทั่ง หม้อหุงข้าว ที่ดูดีๆแล้ว มันก็คือเทคโนโลยีพื้นฐาน แม้รูปลักษณ์และเสริมจะเปลี่ยนไปแต่ยังไงก็ได้ ผลลัพท์ออกมาเช่นกัน
เหมือนเครื่อง โทรศัพท์ ในยุคปัจจุบันเลย...จริงๆ