วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สัมมนาการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

                 
      มีการจัดสัมมนาของรุ่นพี่ปี4เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ




ดูแลด้วยความรักและห่วงใย

   ลูกหลานจะต้องเปลี่ยนทัศนคติต่อคนสูงอายุไม่คิดว่าท่านเป็นภาระ  หากแต่เป็นบุคคลที่ครวเคารพรัก  ต้องหาความรู้หรือรับรู้การฝึกอบรมความรู้ความชำนาญในการปฐมพยาบาลและเรื่องการปรับตัวเข้าหาผู้สูงอายุเพื่อให้ผู้ที่จะเข้าสู่วัยสูงอายุมีการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านสถานการณ์ผู้สูงอายุ ความเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายจิตใจ การเตรียมพร้อมด้านสุขภาพ การวางแผนเงินออม ตลอดจนการปรับตัวในการดำเนินชีวิตในครอบครัวและสังคม อย่างมีความสุขเพื่อสร้างความตระหนักแก่ภาคส่วนต่างๆในการเตรียมความพร้อมประชากร เพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และ ไม่น่าเชื่อว่าประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ คือ มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นวัยที่มีภาวะพึ่งพิงคนอื่นในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประมาณการณ์ว่า สัดส่วนของผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 15.3 ในปี 2563 ซึ่งหมายความว่า อัตราส่วนของวัยแรงงานต้องรับภาระเลี้ยงดูผู้สูงอายุที่เข้าสู่ภาวะพึ่งพิง” สูงขึ้นอีกนอกจากนี้ยังพบว่าจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละปี โดยในปี พ.ศ. 2552 ประมาณการว่ามีผู้สูงอายุถึง 140,000 คน ที่เจ็บป่วยจากโรคเรื้อรัง และจะเพิ่มเป็นสองเท่าในอีก 15 ปีข้างหน้าใน ขณะที่วัยทำงานซึ่งเป็นวัยที่ช่วยเหลือกลับลดลงตามกาลเวลา ดังนั้นเมื่อเข้าสู่วัยชรา ผู้สูงอายุเหล่านั้นจึงต้องพึ่งพิงบุตรหลาน ตลอดจนความช่วยเหลือจากรัฐ และหากความช่วยเหลือจากรัฐนั้นต้องมาจากภาษีของประชากรวัยทำงาน ในอนาคตอันใกล้นี้ภาระแบกรับเหล่านี้จะกลายเป็นภาระที่หนักมากสำหรับประชากรวัยทำงาน และจะกลายเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยในอนาคต
ทางออกของปัญหา คือ 1) ภาครัฐ ต้องมีการจัดเตรียมระบบการดูแลผู้สูงอายุ หรือรัฐสวัสดิการต่างๆ จึงเป็นมาตรการจำเป็นที่หลายๆ ประเทศต้องเริ่มมีการวางแผนเพื่อเตรียมการในการป้องกันและให้เพียงพอ เพื่อเป็นการวางระบบการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาวให้มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการมีแผนปฏิบัติงานที่ชัดเจนในการส่งเสริมสนับสนุนการมีงานทำที่สอดคล้องกับสมรรถนะของผู้สูงอายุ เพื่อสร้างรายได้แก่ผู้สูงอายุ ให้ผู้สูงอายุสามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้อย่างมีศักดิศรี หรือการขยายโอกาสการทำงานของผู้สูงอายุ การเตรียมความพร้อมด้านบริการสาธารณะสุข เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับบริการอย่างทั่วถึง รวมถึง สวัสดิการต่างๆ เพื่อรองรับผู้สูงอายุ อย่างสถานสงเคราะห์ ซึ่งปัจจุบันยังพบว่าสถานสงเคราะห์คนชราส่วนใหญ่ขาดแคลนบุคลากรเฉพาะด้าน เช่น พยาบาล นักกายภาพบำบัด จึงไม่มีศักยภาพเพียงพอในการรองรับบริการดังกล่าว
นอกจากนี้ 2) คนในสังคมต้องมีการเตรียมความพร้อมของตนเองก่อนที่จะเข้าสู่ภาวะสูงวัย ทั้งการเตรียมความพร้อมด้านเศรษฐกิจการเงิน ที่อยู่อาศัย รวมถึงสุขภาพ หากแต่ที่สำคัญคือจากการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2550 กลับพบว่าผู้สูงอายุกว่าร้อยละ 43 หรือเกือบครึ่ง ที่ไม่ได้เตรียมการเพื่อยามสูงอายุ ทั้งด้านสุขภาพกาย ด้านการศึกษาธรรมะหรือเข้าหาศาสนา การเตรียมตัวด้านที่อยู่อาศัย หลักประกันด้านการเงิน ส่งผลให้ผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยต้องตกอยู่ในภาวะยากจน และลำบากเมื่อเข้าสู่ภาวะสูงวัย
แต่เมื่อย้อนมองถึงภาวะประชากรในปัจจุบัน ที่กำลังจะเป็นผู้สูงอายุในอนาคต (อายุ 15-39 ปีและ 40-59 ปีในปัจจุบัน) เป็นที่น่าดีใจที่พบว่า ผู้จะเป็นผู้สูงอายุในอนาคตมีการเตรียมตัวมากกว่าผู้สูงอายุรุ่นปัจจุบัน ทั้งการเตรียมการด้านเศรษฐกิจหรือการเงินและสุขภาพ แต่การเตรียมตัวเข้าหาศาสนาหรือศึกษาธรรมะยังคงมีอยู่น้อย เนื่องมาจากกระแสโลกาภิวัตน์ที่เน้นความสำเร็จในเชิงวัตถุ ทำให้ประชากรคำนึงถึงเรื่องเงินทองมากกว่าเรื่องจิตใจหรือธรรมะ
ทั้งนี้ ประเด็นที่ยังคงน่าเป็นห่วงคือ ประชากรไทยมีการเตรียมการเพื่อยามสูงวัยค่อนข้างช้า หรือเตรียมตัวเมื่ออายุค่อนข้างมาก ผลการสำรวจประชากรอายุระหว่าง 18-59 ปี พบว่าส่วนใหญ่เห็นว่าควรเตรียมการเพื่อยามสูงวัยเมื่อมีอายุ 40 ปีขึ้นไป ในขณะที่ผลการสำรวจประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่ตอบว่าได้เตรียมการเพื่อยามสูงวัยเมื่ออายุประมาณ 50 ปี
จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า แม้การเตรียมความพร้อมเพื่อยามสูงวัยของประชากรไทยในระดับบุคคลมากขึ้น แต่ก็ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ เพราะมีการเตรียมตัวเพียงบางมิติและยังมีความล่าช้า ทั้งที่ในหลายเรื่องควรจะเตรียมตั้งแต่วัยเด็กหรือวัยเริ่มทำงาน เช่น การออมควรเริ่มตั้งแต่วัยเด็กเพื่อให้มีวินัยและติดเป็นนิสัย แต่ที่ผ่านมาพบว่าประชากรไทยยังไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ในด้านสุขภาพเช่นกัน ความใส่ใจสุขภาพควรเริ่มตั้งแต่เด็ก ไม่ใช่เมื่อสูงอายุ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายได้เสื่อมถอยลงจนอาจสายเกินไปที่จะฟื้นฟู หรือเมื่อเกิดปัญหาสุขภาพเท่านั้น การเตรียมตัวนั้นควรเตรียมตัวในทุกมิติ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตนเองได้มากและนานที่สุดทั้งในด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ การอยู่อาศัย และการเงิน
คำว่าผู้สูงอายุ จึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับคนไทยอีกต่อไป ซึ่งทุกคนควรต้องทำความเข้าใจและเตรียมความพร้อมในการรับมือก่อนที่สังคมไทยและสังคมโลกจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยในอนาคต
     

                    

ไปศึกษาดูงานที่จังหวัด สุรินทร์ และ บุรีรัมย์ ตั้งแต่วันที่ 10 - 13 ก.พ 2554


                                                  ประสาทพนมรุ้ง
         ปราสาทหินพนมรุ้ง สร้างขึ้นจากหินทรายสีชมพู ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้งสูง 1,320 ฟุตจากระดับน้ำทะเล ชื่อพนมรุ้งแปลว่าภูเขาใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 15 – 18 จารึกต่างๆที่นักวิชาการได้อ่านและแปลพอจะสรุปได้ว่า พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 3 กษัตริย์แห่งเมืองพระนคร (พ.ศ.1487 – 1511)ได้สถาปนาเทวาลัยถวายพระอิศวรที่ขาพนมรุ้ง ซึ่งในสมัยแรกๆคงยังไม่ใหญ่โตนัก ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 (พ.ศ.1511 – 1544)ได้ทรงอุทิศที่ดินและข้าทาสถวายแด่เทวสถานพนมรุ้ง ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 17 นเรนทราทิตย์ เจ้านายแห่งราชวงศ์มหิทรปุระที่ปกครองดินแดนแถบนี้ (ซึ่งเป็นต้นตระกูลของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างนครวัด) ได้สร้างปราสาทแห่งนี้ขึ้นและได้ทรงบำเพ็ญพรตเป็นโยคี ณ ปราสาทพนมรุ้ง
         พนมรุ้ง เป็นชื่อดั้งเดิม ซึ่งปรากฏหลักฐานตามศิลาจารึกที่ค้นพบปราสาทแห่งนี้ ปราสาทพนมรุ้งสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย ซึ่งนับถือ พระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุด ดังนั้น เขาพนมรุ้งจึงเปรียบเสมือนเขาไกรลาสที่ประทับของพระศิวะ
         องค์ประกอบและแผนผังของปราสาทพนมรุ้งได้รับการออกแบบให้มีลักษณะเป็นแนวเส้นตรง และเน้นความสำคัญเข้าหาจุดศูนย์กลาง นั่นคือปราสาทประธานซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านขวาของบันไดทางขึ้นสู่ศาสนสถานมีอาคารที่เรียกว่า พลับพลา อาคารนี้อาจจะเป็นอาคารที่เรียกกันในปัจจุบันว่า พลับพลาเปลื้องเครื่อง ซึ่งเป็นที่พักจัดเตรียมองค์ของพระมหากษัตริย์ ก่อนเสด็จเข้าสู่การสักการะเทพเจ้า หรือประกอบพิธีกรรมในบริเวณศาสนสถาน ถัดจากนั้นเป็นทางเดินทั้งสองข้างประดับด้วยเสามียอคล้ายดอกบัวตูมเรียกว่าเสานางเรียง จำนวนข้างละ 34 ต้น ทอดตัวไปยังสะพานนาคราช ซึ่งผังกากบาทยกพื้นสูง ราวสะพานทำเป็นลำตัวพญานาค 5 เศียร สะพานนาคราชนี้ ตามความเชื่อเป็นทางที่เชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับเทพเจ้า สิ่งที่น่าสนใจคือ จุดกึ่งกลางสะพาน มีภาพจำหลักรูปดอกบัวแปดกลีบ อาจหมายถึงเทพประจำทิศทั้งแปด ในศาสนาฮินดู หรือเป็นจุดที่ผุ้มาทำการบูชา ตั้งจิตอธิษฐาน จากสะพานนาคราชชั้นที่ 1 มีบันไดจำนวน 52 ขั้นขึ้นไปยังลานบนยอดเขา ที่หน้าซุ้มประตูระเบียงคดทิศตะวันออก มีสะพานนาคราชชั้นที่ 2 ระเบียงคดก่อเป็นห้องยาวต่อเนื่องกัน เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ารอบลานปราสาทแต่ไม่สามารถเดินทะลุถึงกันได้ เพราะมีผนังกั้นอยู่เป็นช่วงๆ มีซุ้มประตูกึ่งกลางของแต่ละด้าน ที่มุมระเบียงคดทำเป็นซุ้มกากบาท ที่หน้าบันของระเบียงคดทิศตะวันออกด้านนอก มีภาพจำหลักรูปฤาษีซึงหมายถึงพระศิวะในปางที่เป็นผู้รักษาโรคภัยไข้เจ็บ และอาจรวมหมายถึง นเรนทราทิตย์ ผู้ก่อสร้างปราสาทประธานแห่งนี้ด้วย









       จะเห็นได้ว่าปราสาทพนมรุ้งไม่เพียงแต่จะมีความโดดเด่นในด้านการวางผังที่สัมพันธ์กับภูมิประเทศแล้ว การตกแต่งด้วยภาพจำหลักหินที่ทับหลังและหน้าบันยังเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างของปราสาทหินสีชมพูแห่งนี้ นอกจากงดงามด้วยฝีมือช่างแล้ว ยังเผยให้เราได้รู้ถึงเรื่องราวเกี่ยวกับปราสาทแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นภาพที่บอกถึงการเป็นเทวสถานของพระศิวะ ภาพพิธีกรรมต่างๆและภาพเรื่องราวจากมหากาพย์ของอินเดียคือรามายณะและมหาภารตะ เป็นต้น 
    ปราสาทพนมรุ้งได้รับการบูรณะด้วยกรรมวิธีอนัสติโลซิส ซึ่งเป็นการบูรณะโบราณสถานโดยทำสัญลักษณ์ของชิ้นส่วนต่างๆก่อนจะรื้ออกเพื่อเสริมรากฐาน และนำชิ้นส่วนต่างๆมาประกอบขึ้นใหม่ตามเดิมซึ่งวิธีการเช่นนี้ใช้กับปราสาทหินหลายแห่ง เช่นปราสาทหินพิมาย ปราสาทพนมวัน เป็นต้น 
    ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 (เมษายน) ของทุกปีมีงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งซึ่งเป็นงานใหญ่ประจำปี โดยในวันนี้พระอาทิตย์แรกแห่งอรุณจะสาดส่องทะลุผ่านประตูทั้ง 15 ช่องชาวบ้านจะเดินเท้าขึ้นมาเพื่อชมความอลังการที่ผสานระหว่างธรรมชาติและสิ่งก่อสร้างของบรรพชน
สถานที่ตั้ง
   ปราสาทพนมรุ้ง ตั้งอยู่ที่บ้านตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ เวลาทำการ 06.00 น. – 18.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท 





                                            ดูโชว์น้องช้าง ที่สุรินทร์




        เมืองสุรินทร์ ได้ชื่อว่าเป็นถิ่นเมืองช้าง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีคนเลี้ยงช้างอยู่ทุกแห่ง ในสุรินทร์จะมีชาวกูยเพียงไม่กี่หมู่บ้านเท่านั้นที่เป็น กูยอะเจียงหรือคนที่อยู่กับช้าง หมู่บ้านตากลาง หมู่บ้านตากลาง ตำบลกะโพ อำเภอท่าตูม นับเป็นหมู่บ้านชาวกูยเก่าแก่ที่เลี้ยงช้างกันมาหลายร้อยปี ตั้งแต่เมื่อครั้งที่บรรพบุรษของเขาเลือกพื้นที่ที่ลำน้ำซีมาสบกับลำน้ำมูลซึ่งเป็นป่าดงดิบริมน้ำกว้างใหญ่ มีอาหารเพียงพอศึกที่ปลดระวางจากสงคราม เพื่อนำมาส่งเป็นส่วย แทนการเกณฑ์ทหารมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แทบทุกปีในสมัยก่อน ปะชิหมอช้างใหญ่ คุมคนและช้างเป็นขบวนใหญ่ เพื่อไปคล้องช้างป่าในแผ่นดินเขมร แต่เมื่อเกิดปัญหาทางการเมืองระหว่างประเทศ การคล้องช้างก็เลิกไป แต่ก็ยังมีการเลี้ยงช้างสืบต่อกันมา เพราะมีลูกช้างสืบต่อกันมา เพราะมีลูกช้างเกิดใหม่ทุกปี การเลี้ยงช้างของชาวกูย ไม่ได้เลี้ยงไว้เพื่อการทำงานหนักหรือใช้ลากไม้แบบทางเหนือ พวกเขาเลี้ยงช้างเหมือนเพื่อน ลูกชายชาวกูยบางคนก็เติบโตมาพร้อมกับช้างจึงเป็นเรื่องราวที่แยกจากกันไม่ออก แม้จะไม่มีการออกไปจับช้างอีกแล้ว แต่ช้างบ้านหลายรุ่น ก็ตกลูกช้างมาอย่างสม่ำเสมอ เมื่อช้างโตอายุสักปีสองปีก็ต้องมีการฝึก เพื่อรับคำสั่งต่าง ๆ ทั้งการส่งควาญขึ้นหลัง เดินซ้าย ขวา หน้า หลัง สมัยก่อนการฝึกช้างก็ทำกันเองทั่วไป แต่ปัจจุบันมีสนามฝึกช้างใกล้กับอาคารศูนย์คชศึกษาซึ่งจะทำการฝึกช้างวัยรุ่น ช้างนั้นมีความจำดีสามารถทำอะไรได้หลายๆ อย่างแล้วแต่ควาญจะฝึกให้ทำอะไรแต่ก็ต้องฝึกอยู่เสมอๆ 




                                               สมุนไพรรักษาโรค


       





ชื่อ : ร.อ.เสวย  จานิกร
วุฒิการศึกษา : มัธยมศึกษา ปีที่ ประสบการณ์/การเป็นวิทยากร : 1.ดูงานด้านเกษตรกรรมในสถานที่ไร่,สวนของเกษตรกรหลายพื้นที่ การเลี้ยงสัตว์,การปลูกพืช2.ปัจจุบันเป็นครูภูมิปัญญาชาวบ้านด้านสมุนไพร ให้แก่คณะศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศ
ความชำนาญเฉพาะด้าน : 1.สมุนไพรใช้รักษา และป้องก้นโรคต่างๆ
2เกษตรแบบผสมผสาน










    พ่อเสวย จานิกร เกษตรกรที่อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ บริเวณบ้านพ่อเสวยเป็นสวนสมุนไพร มีพืชสมุนไพรกว่าร้อยชนิด การสร้างสวนสมุนไพรเกิดจากการเรียนรู้ความสมดุลของระบบนิเวศน์แบบป่า ต้นไม้ใหญ่น้อยเกื้อกูลกัน สวนสมุนไพรพ่อเสวยเป็นแหล่งศึกษาดูงาน เรียนรู้เรื่องสมุนไพรของทั้งคนและสัตว์ ทำให้มีผู้คนเข้าออกบ้านตลอดเวลา เลี้ยงไก่ไว้คุ้ยเขี่ยจิกกินแมลงผ่ามะพร้าวไว้ให้ไก่ได้จิกกินตามใจชอบ แต่ในภาวะที่ไข้หวัดนกระบาดไก่ที่บ้านยังสมบูรณ์แข็งแรง 








                              การเลี้ยงหมูหลุม









แนวคิดที่เลี้ยงสุกรแบบเกษตรธรรมชาติ (หมูหลุม)
1. ต้องการศึกษา เรียนรู้ วิธีการ เลี้ยงสุกรแบบธรรมชาติ และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเรียนรู้การแก้ไขปัญหาที่เผชิญได้ด้วยตัวเอง
2. เป็นแนวทางการส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชน ตามภารกิจงานการศึกษานอกโรงเรียน
3. เป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัว มีส่วนร่วมในกระบวนการคิด บริการจัดการสร้างความสัมพันธ์กับครอบครัวอยากให้ชาวบ้าน และแนวทางการเลี้ยงในการแก้ปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็น